ความสำคัญของมัลติมีเดียต่อการศึกษา
1. พัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
การเปลี่ยนเปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวง ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สุดที่เรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) ได้พัฒนาเพื่อใช้สนับสนุนภารกิจหลักของประเทศต่างๆ และของโลกมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วรองลงมา เช่น เครื่องเมนเฟรม (Mainframe)
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) จนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) ได้นำมาใช้กับระบบงานที่มีภารกิจใหญ่น้อยตามลำดับ กล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในปัจจุบัน
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ อยู่บนพื้นฐานของตัวเลขและรหัสต่างๆ ในระยะแรกของการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องอาศัยนักเขียนโปรแกรม เป็นหลักและยังเข้าใจว่าผู้ที่จะทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ต้องมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันแม้คนส่วนมากคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่สภาพแวดล้อมของสังคมและการออกแบบคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยเปลี่ยนแนวคิดจาก “ระบบคอมพิวเตอร์มีไว้เพื่อนักคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 6
ช่วง ค.ศ. 1890 – 1944
ก่อนปี ค.ศ. 1890 นั้น แม้จะมีความพยายามในการคิดค้นและพัฒนาสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่มาก แต่ยังไม่มีระบบใดที่ช่วยในการเก็บข้อมูล และประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ จุดหักเหของการคิดค้นระบบคอมพิวเตอร์เกิดจากปัญหาที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องใช้เวลาถึง 7 ปี เพื่อสำรวจและจัดระบบสำมะโนประชากรของประเทศ และเมื่อประชากรเพิ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1890 จึงมีการคาดหมายว่าต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีในการสำรวจและจัดระบบสำมะโนประชากรดังกล่าว
Herman Hollerith จึงได้คิดระบบเจาะรูกระดาษ (Punched card) เพื่อเก็บฐานข้อมูลประชากร และคิดสร้างเครื่องมือที่ใช้ควบคู่กับ Punched card ทำหน้าที่จัดเรียงและนับจำนวนแผ่น card ซึ่งช่วยประหยัดเวลาการประมวลผลจาก 10 ปี เหลือเพียง 3 ปี Hollerith ได้พัฒนาและคิดค้นอย่างต่อเนื่อง และภายหลังได้ทำความตกลงร่วมมือกับบริษัท IBM (International Business Machines) เพื่อพัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์
ช่วง ค.ศ. 1945 – 1950
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วงปี ค.ศ. 1890-1944 ไม่มีความคืบหน้าเท่าใดนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1945 ได้มีการคิดค้นเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลทั่วไปที่ ชื่อ ENIAC ขึ้น เครื่องดังกล่าวสามารถประมวลผลในระบบดิจิทัลได้ มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ 3,000 ตารางฟุต มีหลอดสูญญากาศ 18,000 หลอด และใช้พลังไฟฟ้า 140,000 วัตต์ การประมวลผลเป็นแบบเรียงลำดับคำสั่งของโปรแกรม แต่ทำได้เพียงการบวก ลบ คูณ และหาร เท่านั้น
ช่วง ค.ศ. 1951 – 1974
มีการคิดค้นระบบทรานซิสเตอร์ (Transistor) เพื่อใช้แทนหลอดสูญญากาศ ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญอีกก้าวหนึ่งทำให้ขนาดของคอมพิเวเตอร์เล็กลง จากขนาดเท่ากับห้องใหญ่ห้องหนึ่งเหลือเพียงห้องเล็กเนื้อที่ไม่ถึง 180 ตารางฟุต โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานเขียนขึ้นด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) โดยใช้ระบบเลขฐานสอง (Binary digit) ซึ่งได้ถูกกำหนดรหัส (code) ให้ประกอบด้วยเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 ตัวเลขแต่ละตัวเรียกว่าบิต (bit) วางเรียงลำดับเพื่อกำหนดแทนตัวอักขระต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ไบต์ (byte)
เมื่อพิจารณาจากการสั่งการด้วยระบบเลขฐานสอง จะพบว่าต้องใช้เวลาและความพยายามมาทีเดียวกว่าจะเขียนคำสั่งได้แต่ละตัวอักษร ปัจจุบันปัญหานี้หมดไปเนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้สั่งการง่ายขึ้น คำสั่งต่างๆ จะใกล้เคียงกับภาษาพูดของมนุษย์ และมีตัวแปลภาษาเพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องอีกต่อหนึ่ง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาดังกล่าวเรียกว่า ภาษาระดับสูง (High-level language) ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาระดับต่ำ (Low-level language) ซึ่งหมายถึง ภาษาเครื่องที่ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 นั่นเอง
ช่วง ค.ศ. 1975 – 1981
การพัฒนาวงจรรวม (Integrated circuit) เพื่อนำมาแทนที่ทรานซิสเตอร์ ประสบความสำเร็จก่อนปี ค.ศ. 1975 เพียงเล็กน้อย ดังนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 เป็นต้นมา บริษัทผู้นำด้านไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้เริ่มพัฒนาวงจรรวม และมีแผนการตลาดเพื่อผลักต้นให้มีการใช้
ไมโครคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมากขึ้น บริษัทเหล่านี้ได้แก่ Apple Computer, Radio Shack และIBM วงจรรวมดังกล่าวมีขนาดเพียง 1 ส่วน 4 ตารางนิ้ว ทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและมีน้ำหนักเบา ประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลในช่วงเวลานั้นได้ผลดีเฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรเท่านั้น เพราะยังเป็นการประมวลผลในระดับ 8 บิต การประมวลผลภาพหรือกราฟิกยังทำได้ช้า และมีข้อจำกัดด้านหน่วยความจำที่ใช้ในระบบการประมวลผลและเก็บข้อมูล
ช่วง ค.ศ. 1982 – 1992
ปี ค.ศ. 1982 นับเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจนและเห็นผลของการนำไปใช้มากที่สุด ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนมากถูกนำไปใช้เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ ตั้งแต่การประมวลผลฐานข้อมูล (Database processing) และการคิดคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้น ในปีนี้เองที่นิตยสาร Time ได้ยกย่องให้เป็นปีแห่งคอมพิวเตอร์ และผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมนุษย์แห่งปีกลับไม่ใช่บุรุษที่มีตัวตน แต่กลับกลายเป็น “คอมพิวเตอร์” นั่นเอง ในช่วงนี้ที่บริษัท Apple computer ได้เสนอไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล Apple II ในขณะที่บริษัทอื่นๆ เช่น IBM ได้ริเริ่มให้ความสนใจไมโครคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งมีความเร็วสูงได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ระบบมากขึ้น บริษัท Intel มีบทบาทสูงมากในการพัฒนาคิดค้นซิป (chip) สำหรับการประมวลผลไมโครโพรเซสรุ่น 8086, 8088, 80286 และ 80386 ซึงใช้ในเครื่อง IBM รุ่นแรกๆ ที่ยังประมวลผลแบบ 16 บิต เพียงไม่กี่ปีต่อมา บริษัท Intel ได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 ซึ่งทำงานในระบบ 32 บิต และมีสมรรถนะในการใช้งานสูงขึ้นเรื่อยๆ จอภาพสีได้พัฒนาให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี และ 256 สี และมีความละเอียดของจอภาพมากขึ้น สามารถแสดงผลกราฟิกได้สวยงามได้รับความนิยมในการนำไปใช้กับการเสนองานต่างๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI ซึ่งช่วงนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนของแนวคิดใหม่ ที่จะเน้นบทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อการเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากครูและผู้ปกครองจำนวนมาก การยอมรับและปฏิเสธ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการศึกษาวิจัยผลกระทบและสัมฤทธิ์ผลของคอมพิวเตอร์ ต่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการต่างๆ
ช่วง ค.ศ. 1993 – 1999
รูปลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1993 นี้ เมื่อเทียบกับเครื่อง ENIAC 50 ปีก่อนหน้านี้ได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาของบริษัท Apple Computer รุ่น Macintosh PowerBook 540 มีน้ำหนักเพียง 7 ปอนด์ เนื้อที่โดยรวมของเครื่องประมาณ 1/7 ตารางฟุต หน่วยความจำถาวร (ROM) 4-16 เมกะไบต์ เมื่อเทียบกับเครื่อง ENIAC ซึ่งมีน้ำหนักถึง 30 ตัน มีหน่วยความจำภายในเพียง 12K หรือประมาณ 12,000 ตัวอักษรแล้ว จะเห็นว่า PowerBook 540 มีความจุสูงกว่า 3,000 เท่า นอกจากนี้ เครื่องในตระกูล IBM รวมทั้งเครื่องที่เข้ากันได้กับ IBM (IBM compatible) ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมสูงมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาโปรแกรมการใช้งานต่างๆ (Application software) มีมากกว่า และราคาทั่วไปถูกกว่าเครื่องในตระกูล Apple ช่วงปี ค.ศ. 1995 ได้มีการพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ให้ทำงานในระบบ 32 บิต อย่างสมบูรณ์ โดยเริ่มใช้ในเครื่องรุ่น Pentium หน่วยความจำชั่วคราว เพิ่มจาก 4 เมกะไบต์ เป็น 8,16,64 จนถึง 128 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ได้รับการพัฒนาควบคู่กันไป จากที่มีความจุสูงสุดเป็นล้านๆ สี ระบบโดยรวมสามารถรองรับการพัฒนาและการใช้สื่อมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักจากปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมา เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น Pentium ได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วในการประมวลผลข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากและซับซ้อน ประมวลผลภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งรวมเรียกเป็นมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบได้เร็วและง่ายดาย สื่อต่างๆ ทั้งสื่อการศึกษา และสื่อเพื่อการบันเทิงถูกบันทึกลงซีดีรอมและใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบรื่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความจุของหน่วยความจำชั่วคราว และฮาร์ดดิสก์ ล้วนได้รับการพัฒนาควบคู่กันไป ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น Pentium II (ทำงานระบบ 64 บิต) ออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 1996 Pentium III ในปี ค.ศ. 1998 และ Pentium IV ในปลายปี ค.ศ. 2000 ในด้านความเร็วในการประมวลผลนั้นหากเทียบ Pentium รุ่นแรกๆ คือ 60 MHz กับรุ่น Pentium III คือ 1000 MHz ซึ่งได้รับการพัฒนาไปในช่วงปลายปี ค.ศ. 1999 แล้ว เพิ่มขึ้นถึง 16 เท่า พัฒนาการดังกล่าวแม้พอจะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการคาดคะเนพัฒนาคอมพิวเตอร์ในอนาคตได้ แต่การคาดเดามักช้ากว่าความเป็นจริงตลอดมา
ที่มา : http://www.nma6.obec.go.th/korat6/news_file/p24058661455.doc
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)